ความรู้เบื้องต้นสำหรับกระดาษ ถ่ายเอกสาร

ขนาดกระดาษ ถ่ายเอกสาร

ขนาดกระดาษ ถ่ายเอกสาร ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันนั้นมีหลากหลายขนาด และขนาดที่ผู้คนรู้จักกันมากที่สุด คือ ขนาด A4 ซึ่งเป็นขนาดที่นิยมใช้กันบ่อยที่สุดในหมวดหมู่กระดาษ ถ่ายเอกสาร ประเภทอื่น  ตามมาตรฐานสากลว่าด้วยขนาดกระดาษนั้น มาตรฐานกำหนดให้ขนาดของกระดาษเป็น A และ B  ซึ่งจะมีขนาดกระดาษ ถ่ายเอกสาร มากมาย แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า นอกจากขนาด A4 แล้วยังมี ขนาด A6 – A0 อีกด้วย โดยขนาดจะต่างกันครึ่งหนึ่ง เช่น กระดาษขนาด A3 จะใหญ่กว่าขนาด A4 อยู่ 2 เท่าหรือเปรียบเทียบคือ กระดาษ A4 จำนวน 2 แผ่นเท่ากับกระดาษขนาด A3 จำนวน 1 แผ่น สามารถดูขนาดมาตรฐานชุดA และชุดB  ในขนาด  นิ้ว  เซนติเมตร และ มิลลิเมตรได้ตามตารางที่ทางร้านแนบใว้ให้ได้เลยคะ

siz

กระดาษ ถ่ายเอกสาร มีกี่ชนิด

ถ้าเอ่ยถึงในเรื่องของกระดาษ ถ่ายเอกสาร  ก็จะมีหลากหลายชนิดและยี่ห้อให้เลือกมากมายกันเลยทีเดียว  ณ ที่นี้ ทางร้านจะขอกล่าวถึงและแยกชนิดกระดาษเป็น 5 ชนิด  ดังนี้

     1. กระดาษปอนด์ หรือ เรียกง่ายๆว่ากระดาษธรรมดา เป็นกระดาษเนื้อเรียบสีขาว นิยมนำมาใช้ ถ่ายเอกสาร และพิมพ์งานสีเดียว หรือพิมพ์สี่สีก็ได้ แต่สามารถเขียนได้ง่ายกว่าทั้งปากกาและดินสอ เหมาะสำหรับพิมพ์เอกสารทั่วไป เป็นเนื้อในรูปเล่ม ความหนากระดาษที่นิยมใช้ อยู่ที่ 70 แกรม นิยมนำมาใช้ถ่ายเอการทั่วไป และ 80 แกรม นิยมนำมาใช้พิมพ์หรือปริ้นสี  ขนาดกระดาษ จะมีตั้งแต่ A4,A3,B5,B4,F14 และอื่นๆ

     2. กระดาษแบงค์สี เป็นกระดาษบางๆ มักจะมีสี เช่น สีชมพู สีฟ้า สีเขียว และสีเหลือง นิยมใช้เป็นหน้าปก พิมพ์บทคั่นหน้าเนื้อในเอกสาร  บิลต่างๆ ความหนาที่ใช้คือ 80 แกรม

     3. กระดาษการ์ด เป็นกระดาษที่มีความหนา และแข็งแรงประกอบด้วยชั้นของกระดาษหลายชั้น กระดาษการ์ดจะมีสีต่างๆ ให้เลือกใช้ เป็นชนิดมีผิวหยาบด้าน  ซึ่งเรียก กระดาษอาร์ตการ์ด น้ำหนักกระดาษการ์ดอยู่ระหว่าง 110 – 240 แกรม  ใช้สำหรับทำปกหนังสือ เมนูอาหาร และอื่นๆ

     4. กระดาษอาร์ต เป็นกระดาษเนื้อแน่น ที่ผ่านการเคลือบผิวกระดาษ  ซึ่งจะแบ่งประเภทกระดาษออกเป็น 4 ชนิด คือ

          1. กระดาษอาร์ตมัน 2 ด้าน
2. กระดาษอาร์ตมัน 1 ด้าน
3. กระดาษอาร์ตด้าน
4. กระดาษอาร์ตอัดลาย

ซึ่งแต่ละชนิดก็จะแยกย่อยไปตามความหนาลงไปอีก เริ่มตั้งแต่  (120g.-300g.) กระดาษประเภทนี้เหมาะสำหรับงานพิมพ์ 4 สี ที่เน้นความสวยงามและเน้นสีสันเยอะ ๆ ใช้สำหรับทำหนังสือ นิตยสาร กล่องสินค้า ปกหนังสือ โปสเตอร์  โบรชัวร์ นามบัตร การ์ดงานแต่ง การ์ดวันเกิด และ อื่น ๆ   เป็นต้น ส่วนงาน ถ่ายเอกสาร นั้น นิยมนำกระดาษ 240-300แกรม มาปริ้นทำปกหนังสือตามร้าน ถ่ายเอกสาร ทั่วไป

    5. กระดาษโฟโต้  เป็นกระดาษที่ผ่านการเคลือบผิวหน้าให้มีความมันวาว มีความหนามากกว่ากระดาษ A4 ที่ใช้กันทั่วไป โดยความหนาจะอยู่ที่ประมาณ (130g. – 250g.) มีทั้งแบบหน้าเดียว, 2 หน้า เหมาะสำหรับใช้พิมพ์รูปภาพ ภาพถ่าย ภาพวาด งานกราฟฟิก และอาร์ตเวิร์คต่างๆปริ้นสวย สีคมชัด

ความแตกต่างของความหนากระดาษ ถ่ายเอกสาร  ระหว่าง 70g. และ 80g.

ที่จริงแกรม คือ น้ำหนักกรัมต่อกระดาษ 1 ตารางเมตร โดยทั่วไปแล้ว ยิ่งแกรมมาก กระดาษก็ยิ่งหนาขึ้น แต่บางครั้งแกรมเท่ากัน แต่กระดาษต่างชนิดกัน ความหนาก็อาจต่างกันได้ เพราะมวลหรือความหนาแน่นของเนื้อกระดาษนั้นอาจแตกต่างกัน จึงส่งผลให้หนาต่างกัน ทั้งที่มีน้ำหนักเท่ากัน  แกรม (gsm) ย่อมาจาก gram per square metre หรือก็คือหน่วย กรัมต่อตารางเมตร  เป็นหน่วยที่ใช้ในการวัดน้ำหนักของกระดาษ “Paper Weights and Thickness | แกรมของกระดาษ (gsm)”

– กระดาษหนา (70g.) จะมีต้นทุนผลิตที่ถูกกว่า เหมาะกับงานที่จำนวนหน้าเยอะๆ เพราะแกรมน้อยๆจะมีน้ำหนักเบากว่าและทำให้งานที่ออกมาไม่หนามากเกินไป โดยทั่วไปถ่ายเอกสารก็จะใช้ความหนาประมาณนี้กำลังพอดี

– กระดาษหนา (80g.) ให้งานพิมพ์ระดับคุณภาพ ละเอียด คมชัด ทั้งสีและขาว-ดำ ถ้าหากต้องการงานพิมพ์ที่มีคุณภาพ เช่น การพิมพ์ภาพถ่าย หรือภาพกราฟฟิก ภาพสีต่างๆไม่เน้นคุณภาพมาก ฯลฯ ก็สามารถเลือกความหนาตั้งแต่ 80แกรมขึ้นไป

จะเห็นได้ว่ากระดาษ ถ่ายเอกสาร ทั้งสอง ประเภท จะมีความหนาที่แตกต่างกัน ลักษณะการใช้งานก็ไม่ต่างกันมากนัก ซึ่งก็ยังสามารถใช้ ทดแทนกันได้

เกรน(Grain)ของกระดาษ ถ่ายเอกสาร มีความสำคัญอย่าไร กับ ร้านถ่ายเอกสาร

เกรนของกระดาษ คือแนวเส้นใยที่เกิดจากการผลิต เป็นแนวที่เกิดจากการเรียงตัวของเส้นใยในระหว่างกระบวนการผลิตกระดาษ ซึ่งกระดาษ ถ่ายเอกสาร จะมีอยู่ 2แนว คือ
1. แนวเกรน (Machine Direction/MD)
2. แนวขวางเกรน (Cross Direction/CD)

paper grainทิศทางหรือ

เกรน(Grain)กระดาษมีความสำคัญต่องาน ถ่ายเอกสาร อย่างไร

  1. ผลต่อคุณคุณภาพงานพิมพ์ : หากเราใช้กระดาษที่ไม่ถูกตามแนวเกรน เช่น กระดาษ ถ่ายเอกสาร ติดบ่อย, งานพิมพ์เหลื่อม
  2. ผลต่อคุณภาพงานเข้าเล่ม : บ่อยครั้งงานเข้าเล่มหนังสือ ตามร้านถ่ายเอกสารทั่วไปจะพบว่า บางครั้งเวลาเปิดเล่มหนังสือ ทำไมบางเล่มอ่อนเปิดง่าย บางเล่มแข็งเปิดยาก ทำให้ต้องใช้แรงกดส่งผลต่อ อายุการใช้งานของเล่มเอกสาร ขาดง่าย สันแตก

ดังนั้น แนวสันหนังสือควรจะแนวเดียวกับแนวขวางเกรน (Cross Direction/CD) จะทำให้รูปเล่มหนังสือของงาน ถ่ายเอการ นั้นเปิดง่าย อายุการใช้งานยาวนานกว่าการทำสันหนังสือตามแนวเกรน(Grain)